เลนส์มาตรฐานปกติที่ผมใช้ติดกล้องประจำมักเป็น 24-70มม. หรือ 24-120มม. หรือ 24-135มม. เพราะชอบบันทึกภาพภูมิสถาปัตย์เป็นหลัก แม้จะเป็นมุมที่กว้างกว่าปกติเล็กน้อย
แต่เมื่อเดินทางแล้วผมพบว่ามุมมองกว้างไม่พอกับอาคารสถานที่ใหญ่โตบนถนนทางเดินแคบๆภายในเมืองโบราณ
หรือไม่ก็ในห้องที่จำกัดพื้นที่การเดินเช่นในพิพิธภัณฑ์ พระราชวัง เลนส์มุมกว้างพิเศษพอจะเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดี
แต่เลนส์พวกนี้มีราคาสูง การจะใช้เงินกับเลนส์สักตัวหนึ่งจึงต้องรอบคอบ เลนส์รุ่นใหม่ที่ใช้กับกล้องไร้กระจกระบบ micro
four-thirds จะใส่ร่วมกับกล้องเลนส์เดี่ยวที่อาศัยกระจกสะท้อนภาพไม่ได้ แต่เลนส์จากกล้องเลนส์เดี่ยวนั้นใส่กับกล้องไร้กระจกได้ผ่านแหวนแปลง ทางออกของผมที่มีกล้องทั้งสองระบบคือใช้เลนส์ที่ผลิตมาสำหรับของกล้องเลนส์เดี่ยวเท่านั้น เลนส์มุมกว้างพิเศษ ZD
7-14mm. f4.0
เริ่มวางจำหน่ายในเดือนกันยายน ปี 2004 เป็นเลนส์เกรดสูงพิเศษใช้กับกล้องโอลิมปัส
E-system และได้ยกเลิกสายการผลิตไปแล้วตั้งแต่โอลิมปัสเลิกผลิตกล้องเลนส์เดี่ยวที่อาศัยกระจกสะท้อนภาพ
และวางจำหน่ายแต่กล้องไร้กระจกในปี 2013
เลนส์ที่ผมได้มาจากตลาดอีเบย์ประเทศญี่ปุ่น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกหากเราต้องการเลนซ์ซุปเปอร์ไวด์ที่มีออพติคเป็นเกรดมืออาชีพ สามารถรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอีก 400ก. เรามีกล้องรุ่น em-1 มีแหวนแปลงอยู่แล้วและไม่อยากซื้อเลนส์ m43 ที่มีราคาแพงกว่าเป็นเท่าตัว จะไม่ผิดหวังครับ รูรับแสงระหว่าง f2.8 และ 4.0 แทบไม่มีข้อด้อยอะไรเลยสำหรับเลนซ์มุมกว้างพิเศษ

ZD 7-14mm f4.0 ED เป็นเลนส์ในระบบ four-thirds (ระยะของเลนส์คูณสอง) ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ 18 ชิ้น 12 กลุ่ม มีชิ้นเลนส์ที่มีการกระจายแสงต่ำ 1 ชิ้น
กระจายแสงต่ำมากเป็นพิเศษ 2 ชิ้น และกระจายแสงต่ำและแก้ความคลาดสีอีก 1 ชิ้น ชิ้นเลนส์ที่แก้ความคลาดสีธรรมดาอีก 1
ชิ้น มีเส้นผ่าศูนย์กลางหน้าเลนส์ถึง
87มม. และเลนส์ชิ้นหน้าโค้งเหมือนตาปลาทำให้ไม่สามารถใส่ฟิลเตอร์โดยตรง
เลนส์ชิ้นหน้ามีการเคลือบพิเศษป้องกันรอยนิ้วมือ เลนส์มีระบบการซูมและโฟกัสภายในทำให้ไม่มีการยืดขยายขนาดออก มีส่วนสูง 120 มม. และน้ำหนัก 870ก. มีมอเตอร์ขนาดเล็กทำหน้าที่ปรับความชัด สามารถถ่ายได้ใกล้สุดถึง 25 ซม.
โดยเปิดรูรับแสงกว้างที่สุดที่ 4.0 และแคบสุด 22.0
 |
สวมกับกล้องไร้กระจกผ่านแหวนแปลง mmf3 |
ผลการทดสอบ MTF charts ที่ระยะ
7 มม. ประสิทธิภาพการแยกเส้นที่กลางภาพสูง แต่ที่ขอบภาพจะลดลงมาพอควร ประสิทธิภาพการจำแนกรายละเอียดทั้งภาพจะดีขึ้นเมื่อปรับมาที่ระยะ
10 มม.เป็นต้นไป การบิดเบือนภาพที่
7มม.สูงถึง -2.6% และลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ที่ระยะ
9-10 มม. ผลทดสอบต่างๆ
บอกเราได้เพียงคุณสมบัติและรายละเอียดการออกแบบเลนส์แต่ละตัว
แต่การนำไปใช้งานจริงเป็นประสพการณ์ของแต่ละบุคคล
ถือว่าเป็นของใหม่ที่ผมจะค่อยๆเรียนรู้ไป
 |
ระยะ 9 มม. โฟกัสที่พระ |
 |
ระยะ 7 มม. ไม่เคยเห็นภาพผ่านเลนส์กว้างแบบนี้มาก่อน |
 |
ระยะ 7 มม. ท้องฟ้าสีสวยงามหากได้ตำแหน่งโพลาไรซ์พอดี วางตำแหน่งสำคัญไว้กลางภาพเพื่อให้ตำแหน่งนั้นบิดเบือนน้อยที่สุด |
 |
ระยะ 8 มม. หากเลือกแนวระนาบที่กลางเจดีย์จะทำให้ส่วนบนสั้นผิดส่วน หากกดมุมลงเล็กน้อยมาที่กลางส่วนฐานจะได้ช่วงยอดที่ยาวขึ้นสมจริงกว่า |
 |
ระยะ 7 มม. สามารถบันทึกภาพได้ครอบคลุมโดยมีระยะทำงานในมณฑปประมาณ 2 เมตรเท่านั้น |
 |
ระยะ 7 มม. หากมีพื้นที่ส่วนหน้าห่างพอ จะได้สัดส่วนของเจดีย์ดีขึ้น |
 |
ระยะ 7 มม. หากระยะห่างวัตถุไม่มากพอ การโฟกัสที่กลางฐานเจดีย์จะทำให้ยอดกุดสั้น ผิดส่วนเกินไป |
 |
ระยะ 14 มม. ภาพที่ได้บิดเบือนไม่มาก
|
 |
แสงอาทิตย์ด้านข้างตัวพอดีมีผลทำให้เกิดแสงแฟลร์ได้ง่ายมากแม้จะมีฮูดติดไว้ก็ตาม |
 |
ระยะ 9 มม. |
 |
เลนส์มุมกว้างมากๆ มีโอกาสที่จะได้ภาพบิดเบี้ยว ส่วนคานบนนั้นได้ระนาบ แต่ตัวอาคารด้านล่างบิดเอียง ต้องระมัดระวังระนาบของกล้อง ในกรณีนี้แนวนอนใช้ได้ แต่แนวตั้งเอียงไปทางซ้ายมากกว่าทางขวา |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น